ถ้าเกิดว่าเราทำของแตกหรือหักไปแล้วดันจำเป็นที่จะใช้งานด้วย สิ่งแรกที่เรานึกถึงในการซ่อมแซมของเหล่านั้นคืออะไรครับ ให้เวลาคิด 1 ล้านนาทีครับ!! ฮ่าๆๆๆ ล้อเล่นครับในหัวก็อย่างแรงกที่เราคิดได้ก็คงจะเป็นกาวใช่มั้ยละครับ ของสุดยอดแห่งความอเนกประสงค์ที่สามารถใช้ต่อหรือติดกับอะไรก็ได้ทั้งนั้น เป็นของใช้ที่แสนจะสะดวกสบายแถมหาซื้อได้ง่ายตามร้านเครื่องเขียนแล้วก็ร้านสะดวกซื้อถั่วไป เป็นของใช้ติดบ้านที่ทุกบ้านต้องมีครับ เราหลายๆคนก็รู้จัก กาว กันมาตั้งแต่เด็กๆนะครับ เพราะเวลาของเล่นแตกหรือหักไป พ่อแม่ก็มักจะซ่อมแซมหลายๆอย่างด้วยกาว กาวที่เรารู้จักและก็เรียกกันจนติดปากก็เป็นอย่างดีก็คือ กาวตราช้าง หรืออีกชนิดหนึ่งก็จะเป็น การUHU หลอดสีเหลือง หรือไม่ก็เป็นกาวที่เด็กชอบเอามาเล่นทามือกันก็คือกาว TOA และอื่นๆอีกมากมายหลากหลายยี่ห้อครับให้ได้เลือกใช้งานกัน เรามาทำความรู้จักกาวซูเปอร์กลู (Super Glue) หรือว่ากาวตราช้างให้มากขึ้นอีกหน่อยดีกว่าครับ
กาวซูเปอร์กลู (Super Glue) หรือว่ากาวตราช้างที่บ้านเรานิยมเรียกกันครับ ก็เป็นกาวชนิดแห้งเร็วครับ 10-20 วินาทีก็แห้งสนิทแล้ว มีความยึดติดได้ค่อนข้างสูงครับ พอแห้งสนิทแล้วจะแข็งมากๆครับ จะเรียกว่ามันค้นพบโดยบังเอิญก็ได้ครับ ไซยาโนอะคริเลตเป็นหนึ่งในสารยึดติดที่มีองค์ประกอบทางเคมีที่คล้ายกัน ค้นพบโดยแฮร์รี คูเวอร์ (Harry Coover) และอีสต์แมน โคแด็ก (Eastman Kodak) ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ขณะที่พวกเขากำลังวิจัยค้นคว้าเกี่ยวกับการผลิตเลนส์พลาสติกสำหรับลำกล้องของอาวุธปืน วัสดุที่พวกเขาสร้างขึ้นกลายเป็นว่าทำให้เครื่องมือและอุปกรณ์ที่เคยบรรจุหรือจับวัสดุนั้นยึดติดกันหมด และไม่ได้แก้ปัญหาเรื่องเลนส์เลย ไซยาโนอะคริเลตออกขายสู่ตลาดอุตสาหกรรมเป็นครั้งแรกในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1955 โดยใช้ชื่อผลิตภัณฑ์ว่า แฟลชกลู (Flash Glue) ซึ่งยังคงมีการขายอยู่กระทั่งปัจจุบันและดำเนินกิจการโดย แกรี ชิปโก (Gary Shipko) ประธานบริษัทซูเปอร์กลูอินเทอร์เนชันแนล (Super Glue International) แห่งสหรัฐอเมริกา ในทุกวันนี้ กาวตราช้างก็ได้กลายมาเป็นของใช้ประจำบ้านเราแล้วนะครับ อีกจุดประสงค์หนึ่งที่กาวตราช้างนั้นถูกนำไปใช้ก็คือการห้ามเลือดนะครับ ในสมัยสงครามโลกกาวตราช้างถุกนำไปเป็นกาวห้ามเลือดครับ ด้วยคุณสมบัติที่แห้งไว้ของมันนั้นเองครับ